อาหารเสริมสำหรับเด็ก

อาหารเสริมสำหรับเด็ก แบบไหนดีที่เหมาะสม ?

ผลิตภัณฑ์อาหารเสริมสำหรับเด็กสำคัญมากแค่ไหน ?

ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทวิตามินและเกลือแร่จัดเป็นสารอาหารรองที่ร่างกายต้องการในปริมาณน้อย แต่มีความจำเป็น และหากขาดจะทำให้เกิดความผิดปกติและอันตรายต่อร่างกาย โดยปกติแล้วเด็กควรได้รับวิตามินและเกลือแร่ที่เพียงพอจากการรับประทานอาหารครบ 5 หมู่ แต่ในความเป็นจริงการประกอบอาหารอย่างพิถีพิถันอาจทำไม่ได้ในทุกมื้อ หรือเด็กอาจมีพฤติกรรมการรับประทานอาหารที่ไม่ปกติ เลือกรับประทานอาหารเฉพาะที่ตนชอบ รับประทานอาหารแปรรูปมากเกินไป หรือ มีปัญหาสุขภาพ เช่น ปัญหาเกี่ยวกับระบบทางเดินอาหาร หอบหืด เป็นต้น สถานการณ์เหล่านี้ทำให้เด็กขาดสารอาหารและจำเป็นต้องได้รับผลิตภัณฑ์เพื่อเสริมอาหารให้ครบถ้วน


เด็กควรเริ่มทานอาหารเสริมสำหรับเด็กเมื่ออายุเท่าไหร่ ?

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO และ หน่วยงานด้านสุขภาพแห่งชาติของสหราชอาณาจักร(NHS) ได้แนะนำให้เด็กเล็กอายุตั้งแต่ 6 เดือนขึ้นไป ถึง 5 ปี ได้รับวิตามินและเกลือแร่เสริมหากได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะขาดสารอาหาร โดยวิตามิน เกลือแร่ที่มีหลักฐานในการส่งเสริมสุขภาพของเด็กเล็ก ได้แก่ วิตามินเอ ซี และ ดี


อาหารเสริมสำหรับเด็กที่สำคัญมีอะไบ้าง

  • 1) วิตามินเอ 

    วิตามินเอเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อสายตา ส่งเสริมการเจริญเติบโต ปกป้องเยื่อบุต่างๆในร่างกาย และส่งเสริมภูมิคุ้มกัน วิตามินเอสามารถพบได้ใน อาหารประเภท ชีส ไข่ น้ำมันปลา นม โยเกิร์ต และยังสามารถได้รับจากการรับประทานอาหารที่มีเบต้าแคโรทีน โดยร่างกายจะเปลี่ยนให้อยู่ในรูปของเรตินอล เบต้าแคโรทีนสามารถพบได้ใน ผักหรือผลไม้ที่มีสีเหลือง แดง หรือ สีเขียว เช่น ผักโขม แครอท มะละกอ มันเทศ เป็นต้น หากขาดวิตามินเอ จะทำให้เกิดความผิดปกติทางสายตา เจ็บป่วยและติดเชื้อได้ง่าย เช่น ท้องร่วงหรือหัด ปริมาณวิตามินเอที่แนะนำต่อวันในเด็กทารกอายุ 7-12 เดือน เท่ากับ 500 ไมโครกรัม(มคก.) หรือ 1,667 IU ต่อวัน เด็กอายุ 1-3 ปี ควรได้รับในขนาด 300 มคก. หรือ 1,000 IU ต่อวัน เด็กอายุ 4-8 ปี ควรได้รับขนาด 400 มคก. หรือ 1,333 IU ต่อวัน และขนาด 600 มคก. หรือ 2,000 IU ต่อวัน ในเด็กอายุ 9-13 ปี

  • 2) วิตามินซี 

    วิตามินซีมีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตและระบบภูมิคุ้มกันและยังช่วยร่างกายดูดซึมธาตุเหล็ก อาการขาดวิตามินซี ได้แก่ ผมแห้งแตก เหงือกอักเสบ เลือดออก ผิวแห้งหยาบกร้าน แผลหายช้า ผิวหนังเป็นจ้ำเลือดได้ง่าย เลือดกำเดาไหล และติดเชื้อโรคจากภายนอกได้ง่าย อาการขาดวิตามินซีอย่างรุนแรงจะมีเลือดออกตามไรฟัน หรือเรียกว่า scurvy อาหารที่เป็นแหล่งสำคัญของวิตามินซี ได้แก่ ส้ม ฝรั่ง กีวี สตรอเบอร์รี่ บล๊อคโคลี มะเขือเทศ พริกหยวกเขียวและแดง ปริมาณวิตามินซีที่แนะนำตามช่วงอายุต่อวัน ได้แก่ อายุ 0-6 เดือน ให้ได้รับขนาด 40 มิลลิกรัม (มก.) , อายุ 7-12 เดือน 50 มก., 1-3 ปี 15 มก. 4-8 ปี 25 มก. และ 9-13 ปี 45 มก. 

  • 3) วิตามินดี  

    วิตามินดีช่วยส่งเสริมกระดูกและฟันให้แข็งแรง และยังช่วยร่างกายดูดซึมแคลเซียม หากได้รับวิตามินดีไม่เพียงพอ อาจทำให้เกิดความเสียงต่อการเกิดโรค rickets คือกระดูกอ่อนแอและผิดรูป อาหารที่มีวิตามินดีสูง ได้แก่ ปลาไขมันสูง เช่น แซลมอน ซาร์ดีน น้ำมันตับปลา ไข่แดง ชีส ธัญพืช วิตามินดียังสามารถได้รับจากแสงแดดโดยตรง อาจมีการส่งเสริมให้เด็กได้รับแสงอ่อนประมาณ 15-30 นาที โดยเฉพาะช่วงเช้าของวัน ขนาดของวิตามินดีที่ควรได้รับสำหรับเด็กทารกอายุต่ำกว่า 6 เดือน คือ 5-7.5 มคก./วัน หรือ 200-300 IU สำหรับทารกตั้งแต่อายุหกเดือนเป็นต้นไป ควรได้รับในขนาด 10 มคก. หรือ 400 IU ต่อวัน
     

  • 4) วิตามินบีรวม  

    วิตามินบีรวม เป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีสัดส่วนของวิตามินบีหลากหลายชนิดในสัดส่วนที่พอเหมาะ เพื่อเสริมสร้างการเจริญเติบโตของร่างกาย สมองและระบบประสาท การเจริญเติบโตของเม็ดเลือดแดง และเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการสร้างพลังงานของร่างกาย วิตามินบีรวมจะประกอบด้วย วิตามิน B1(Thiamine), B2(Riboflavin), B3(niacinamide or niacin), B4(choline), B5(pantothenic acid), B6(pyridoxine), B7(biotin), B9(folic acid), and B12 (cyanocobalamin) วิตามินบีสามารถพบได้ในอาหารประเภท ผลไม้ ผักใบเขียว ปลา ผลิตภัณฑ์จากนม ธัญพืช ถั่วและถั่วเปลือกแข็ง อาการของการขาดวิตามินบี ได้แก่ กระวนกระวาย ขาดสมาธิ ผื่นคัน เหน็บชา โลหิตจาง เป็นต้น ประมาณวิตามินบีเสริมที่แนะนำต่อวันในเด็กอายุน้อยกว่า 4 ปี ได้แก่ B1 0.5 มก., B2 0.6-0.8 มก., B3 8-9 มก., B5 3-5 มก., B6 0.1-0.8 มก., B7 50-150 มก., B9 150 มก. และ B12 2-3 มคก. และในเด็กอายุตั้งแต่ 4 ปี ได้แก่ B1 1.5 มก., B2 1.7 มก., B3 มก., B4 250 มก., B5 มก., B6 มก., B7 300 มก., B9 200 มก., และ B12 6 มคก. ต่อวัน  

  • 5) แคลเซียม  

    กระดูกและฟันเป็นแร่ธาตุแคลเซียมที่พบได้มากที่สุดของร่างกาย ดังนั้นการได้รับปริมาณแคลเซียมอย่างเพียงพอ มีส่วนสำคัญในการะบวนการเจริญเติบโตของกระดูกและลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคกระดูกพรุนในวัยผู้ใหญ่ แหล่งที่สามารถพบแคลเซียม ได้แก่ นม ชีส และผลิตภัณฑ์นมอื่นๆ ผักใบเขียว หรือนมจากพืชที่มีการเติมแคลเซียม ปลาที่สามารถรับประทานได้ทั้งกระดูก ประมาณแคลเซียมที่แนะนำต่อวัน เท่ากับ 1,000 มก. ในเด็กอายุ 4-8 ปี และ 1,300มก. ในเด็กอายุ 9-13 ปี  

  • 6) เหล็ก  

    เหล็กเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นต่อโปรตีนและเอนไซม์ที่ใช้ในกระบวนการขนส่งออกซิเจน การสังเคราะห์พลังงานและดีเอ็นเอ หากร่างกายได้รับธาตุเหล็กไม่เพียงพอจะทำให้เกิดภาวะโลหิตจางซึ่งเป็นภาวะที่ปัญหาของระบบสาธารณสุขที่พบได้บ่อย โดยจะทำให้เด็กมีภาวะขาดพลังงานและอ่อนแรง แหล่งของธาตุเหล็กได้แก่ ตับ เนื้อแดง ถั่วแดง ถั่วแระ ถั่วลูกไก่ ถั่วเปลือกแข็งต่างๆ ผลไม้แห้ง เช่น แอพริคอต ปริมาณธาตุเหล็กที่แนะนำต่อวัน ในเด็ก อายุ 4-8 ปีเท่ากับ 10 มก. และ อายุ 9-13 เท่ากับ 8 มก.  

  • 7) ไอโอดีน

    ไอโอดีน จำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนไทรอยด์ซึ่งมีส่วนสำคัญต่อการเจริญเติบโต พัฒนาการ กระบวนการสร้างพลังงานและระบบสืบพันธุ์ การขาดฮอร์โมนไธรอยด์ส่งผลให้เกิดภาวะที่เรียกว่า คอพอกและส่งผลต่อการเติบโตที่ผิดปกติ แหล่งสำคัญของไอโอดีน ได้แก่ สาหร่าย ปลา เกลือเสริมไอโอดีน ในปัจจุบันมีการเติมธาตุไอโอดีนเสริมในเกลือเพื่อให้ได้รับปริมาณอย่างเพียงพอ แต่ก็การขาดแร่ธาตุดังกล่าวก็ยังเป็นปัญหาของระบบสาธารณสุข ขนาดของไอโอดีนทีควรได้รับต่อวันในเด็กอายุ 4-8 ปี เท่ากับ 90 มคก. และในเด็ก 9-13 เท่ากับ 120 มคก.  

  • 8) สังกะสี  

    สังกะสีเป็นแร่ธาตุที่มีความจำเป็นการทำงานของทุกอวัยวะและช่วยฮอร์โมนอินซูลินในการคุมสมดุลของระบบพลังงานในร่างกาย และยังช่วยส่งเสริมภูมิคุ้มกันโดยทำงานร่วมกับวิตามินเอ อีกทั้งยังช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น หากขาดสังกะสีจะทำให้เด็กมีอาการไม่อยากรับประทานอาหาร เจริญเติบโตช้า ภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แหล่งชั้นยอดของสังกะสี ได้แก่ ตับ ไต เนื้อแดง เป็ดไก่ โดยมีขนาดที่แนะนำในเด็กทารกอายุ 0-6 เดือน เท่ากับ 2 มก. ทารก 7 เดือน -1 ปี เท่ากับ 3 มก. อายุ 1-3 ปี เท่ากับ 3 มก. เด็กอายุ 4-8 ปี เท่ากับ 5 มก. และ อายุ 9-13 ปีเท่ากับ 8 มก.  

รวมสินค้าแนะนำ