อาหารเสริมช่วยเพิ่มน้ำหนัก

อาหารเสริมช่วยเพิ่มน้ำหนัก

ในขณะที่คนส่วนมากกำลังลดน้ำหนัก มีคนจำนวนไม่น้อยเช่นกันที่กำลังประสบปัญหาน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์ ซึ่งพบได้ในทุกช่วงอายุ น้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานส่งผลกระทบต่อการทำงานของร่างกายที่อาจรุนแรงไม่แตกต่างจากภาวะน้ำหนักเกิน


ประเมินสภาวะร่างกายจากน้ำหนักได้อย่างไร? 

การประเมินความอ้วน ผอม ของร่างกายโดยทั่วไปสามารถประเมินได้จาก ค่าดัชนีมวลกาย Body mass index หรือ BMI ซึ่งเป็นตัวชี้วัดมาตรฐานเพื่อประเมินสภาวะของร่างกาย ว่ามีความสมดุลของน้ำหนักตัวต่อส่วนสูงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมหรือไม่ โดยสามารถคำนวนได้จาก มวลกายหน่วยเป็นกิโลกรัมหารด้วยส่วนสูงเป็นเมตรยกกำลังสอง และแสดงในหน่วย กก./ม2. ตัวอย่าง เช่น นางสาวแอนนา มีน้ำหนัก 60 กิโลกรัม ส่วนสูง 160 เซ็นติเมตร จะคำนวนค่า BMI ได้ดังนี้ 60/(1.6×1.6) = 23.44 กก/ม2 ซึ่งอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน สามารถนำน้ำหนักที่คำนวนได้มาประเมินสภาวะของร่างกายโดยเปรียบเทียบจากตารางต่อไปนี้


สามารถเพิ่มน้ำหนักแบบปลอดภัยได้อย่างไร?  

สามารถปรับเปลี่ยนวิธีการรับประทานอาหาร โดยปรับปริมาณแคลอรีของอาหารให้เหมาะสมต่อกิจกรรมในแต่ละวัน แต่ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่มีน้ำตาลหรือไขมันอิ่มตัวสูง ซึ่งจะทำให้เพิ่มไขมันในร่างกายมากกว่าเพิ่มปริมาณมวลกล้ามเนื้อหรือน้ำหนักโดยรวม ผู้ที่มีน้ำหนักต่ำกว่ามาตรฐานสามารถนำหลักการการรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ มาปรับใช้เพื่อค่อยๆเพิ่มน้ำหนักตัวแบบปลอดภัยและดีต่อสุขภาพ ดังนี้ 

  • 1) เน้นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรต  

    คือเน้นอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในทุกมื้อ เช่น ข้าว เผือก มัน ขนมปัง โดยพยายามเลือกชนิดไม่ขัดสีเท่าที่จะทำได้ 

  • 2) รับประทานผักและผลไม้ 

    คือรับประทานผักและผลไม้หลากชนิดทุกวัน 

  • 3) เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี  

    คือ เลือกรับประทานโปรตีนคุณภาพดี เช่น ถั่ว ปลา ไข่ เนื้อแดง โดยควรรับประทานปลาอย่างน้อย 2 ส่วน (280 กรัม) ต่อสัปดาห์ และใน 1 ครั้งควรเป็นปลาทะเล เช่น แซลมอน แมคเคอเรล 

  • 4) รับประทานผลิตภัณฑ์นม  

    คือรับประทานผลิตภัณฑ์นมหรือผลิตภัณฑ์ทดแทนนมจากพืช เช่น นมวัว นมอัลมอนด์ นมถั่วเหลือง

  • 5) เลือกน้ำมันจากไขมันไม่อิ่มตัว  

    คือเลือกน้ำมันจากไขมันไม่อิ่มตัวในการประกอบอาหาร เช่น น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันคาโนลา 

  • 6) ดื่มน้ำให้ได้ 6-8 แก้วต่อวัน  


สาเหตุใดที่ทำให้มีน้ำหนักต่ำกว่าเกณฑ์? 

  • 1) น้ำหนักที่ต่ำกว่าเกณฑ์  

    คือ BMI น้อยกว่า 18.5 กก/ม2 หากไม่พิจารณาจากการที่พยายามลดน้ำหนักแล้ว อาจมีสาเหตุทางสุขภาพอื่นๆ ที่ส่งผลกระทบต่อน้ำหนักที่ลดลงได้

  • 2) ปัญหาทางสุขภาพจิต 

    โดยสุขภาพจิต เช่น มีภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ
  • 3) มีปัญหาในระบบทางเดินอาหาร  

    เช่น โรคเซลิแอค(coeliac disease) (โรคที่เกี่ยวกับระบบการย่อยอาหาร ที่มีสาเหตุมาจากระบบภูมิคุ้มกันมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกลูเตนผิดปกติ) หรือโรคลำไส้แปรปรวน (irritable bowel syndrome (IBS)

  • 4) ภาวะทางสุขภาพอื่นๆ  

    เช่น ต่อมไธรอยด์เป็นพิษ เบาหวาน หรือโรคหัวใจ ในบางครั้งน้ำหนักที่ลดลงอย่างมากโดยไม่ทราบสาเหตุ อาจเป็นอาการอย่างหนึ่งของการเกิดมะเร็งได้ ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องไปพบแพทย์เพื่อทำการตรวจอย่างละเอียด

     
     

รวมสินค้าแนะนำ