Highlight
- ผู้หญิงที่อายุมากขึ้น จะมีภาวะเจริญพันธุ์น้อยลง อีกทั้งหลายคู่ที่มีบุตรยากพบว่า มีความล้มเหลวในการตกไข่ และความผิดปกติของตัวอสุจิ
- สารอาหารที่มีประโยชน์ต่อการเจริญพันธุ์คือ กรดโฟลิก วิตามินบี สังกะสี แคลเซียม โคเอ็นไซม์คิวเท็น เหล็ก ซีลีเนียม เป็นต้น
11 อาหารเสริมสำหรับคนอยากมีลูก
คู่รักส่วนใหญ่ ประมาณ 84% จะตั้งครรภ์ภายใน 1 ปีหากมีเพศสัมพันธ์เป็นประจำและไม่ใช้ยาคุมกำเนิด แต่อีก 16% มักไม่ได้เป็นเช่นนั้น ปัจจุบันพบว่ามีหลายปัจจัยที่ทำให้เกิดภาวะมีบุตรยาก ได้แก่
- ผู้หญิงที่อายุมากขึ้น จะมีภาวะเจริญพันธุ์น้อยลง
- ความล้มเหลวในการตกไข่ และความผิดปกติของตัวอสุจิ ซึ่งสาเหตุจริงๆควรปรึกษาแพทย์เพราะแต่ละคนมีความแตกต่างกัน
- ความผิดปกติของฮอร์โมน เช่น polycystic ovary syndrome (PCOS) และปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์หรือต่อมใต้สมอง
- ความผิดปกติทางร่างกาย เช่น โรคอ้วน อาการเบื่ออาหาร ขาดสารอาหาร หรือการออกกำลังกายมากเกินไป
- ความผิดปกติของระบบสืบพันธุ์ เช่น การติดเชื้อ ท่อนำไข่อุดตัน เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือจำนวนอสุจิน้อย
แต่มีทางเลือกหนึ่งที่จะเพิ่มโอกาสในการสร้างลูกน้อยของคุณที่ค่อนข้างง่ายและไม่เป็นอันตราย นั่นคือ การทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ไม่เครียด นอกจากนั้นยังสามารถใช้อาหารเสริมที่อาจช่วยส่งเสริมการเจริญพันธุ์ เช่น
อาหารเสริมหรือวิตามินเสริม | ช่วยอย่างไร |
เหมาะสำหรับ |
อะเซทิล แอล-คาร์นิทีน (Acetyl L-Carnitine) |
ช่วยให้อสุจิเคลื่อนที่ได้ดีและเป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่ส่งเสริมระบบสืบพันธุ์สตรีให้แข็งแรง | ผู้ชายและผู้หญิง |
วิตามินบีต่างๆ |
ช่วยส่งเสริมสุขภาพของไข่และป้องกันภาวะมีบุตรยากจากการตกไข่ และอาจช่วยเพิ่มคุณภาพของตัวอสุจิ | ผู้ชายและผู้หญิง |
วิตามินดีและอี |
ช่วยเพิ่มคุณภาพของไข่และตัวอสุจิ | ผู้ชายและผู้หญิง |
วิตามินซี |
เพิ่มจำนวนอสุจิและช่วยให้การเคลื่อนไหวคล่องแคล่ว | ผู้ชาย |
แคลเซียม |
การขาดแคลเซียมอาจเป็นสาเหตุของภาวะมีบุตรยากในผู้ชาย เนื่องจากแคลเซียมเกี่ยวข้องกับการผลิตสเปิร์ม | ผู้ชาย |
โคเอ็นไซม์ คิว10
|
ปรับปรุงการตอบสนองของรังไข่สำหรับการปฏิสนธินอกร่างกาย (IVF); ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของอสุจิ | ผู้ชายและผู้หญิง |
สังกะสี |
ช่วยในการปฏิสนธิและการพัฒนาไข่ ช่วยเพิ่มคุณภาพของตัวอสุจิ | ผู้ชายและผู้หญิง |
ซีลีเนียม |
ปรับปรุงคุณภาพน้ำอสุจิ ลดความเสี่ยงของการแท้งบุตร | ผู้ชายและผู้หญิง |
กรดไขมันโอเมก้า-3 จากปลา |
ช่วยเพิ่มการเคลื่อนไหวของตัวอสุจิ และอาจส่งเสริมการตกไข่ในผู้หญิงวัย 35 ปีขึ้นไป | ผู้ชายและผู้หญิง |
เหล็ก |
ธาตุเหล็กช่วยลดความเสี่ยงของการมีบุตรยากจากการตกไข่ | ผู้หญิง |
กรดโฟลิก |
ช่วยส่งเสริมการเจริญพันธุ์ โดยปกติแล้ว สตรีที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรืออาจตั้งครรภ์ควรเสริมด้วยกรดโฟลิกขนาด 400 ถึง 800 ไมโครกรัมต่อวัน โดยเริ่มอย่างน้อย 1 เดือนก่อนตั้งครรภ์ | ผู้หญิง |
นอกจากอาหารเสริมแล้ว อาหารก็เป็นสิ่งสำคัญไม่แพ้กัน
อาหารที่ไม่ควรทาน หากวางแผนมีลูก
- อาหารไขมันสูงและไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม ครีมเทียม เฟรนฟรายด์ เค้ก คุกกี้ ของทอด ขนมขบเคี้ยว เบเกอรี่ และขนมอบกรอบ เนื้อสัตว์ติดมัน เพราะอาจเป็นสาเหตุของโรคอ้วน และส่งผลกระทบให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนเกิดความไม่สมดุล ทำให้การตกไข่ไม่ปกติ จึงตั้งครรภ์ได้ยาก
- งดแอลกอฮอล์และสูบบุหรี่ เนื่องจากส่งผลเสียต่อสุขภาพมากมายทุกระบบ
- อาหารหวาน อาหารน้ำตาลสูงและแป้งขัดขาว เพื่อคุมระบบน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน
อาหารที่ควรทาน หากวางแผนมีลูก
- ถั่วและธัญพืช เพราะอุดมด้วยโปรตีนที่ดีและธาตุเหล็ก เพิ่มความแข็งแรงให้กับมดลูก และส่งเสริมการผลิตไข่ที่มีคุณภาพ
- หอยนางรม เพราะอุดมด้วยแร่ธาตุสังกะสี ช่วยกระตุ้นการผลิตไข่และสเปริ์มที่มีคุณภาพ แนะนำรับประทานในช่วง 1 สัปดาห์ก่อนวันไข่ตก
- บรอคโคลี ผักโขม ไข่ อะโวคาโด อุดมด้วยกรดโฟลิกสูง ช่วยเร่งการตกไข่ ส่งผลให้มีโอกาสในการตั้งครรภ์เพิ่มมากขึ้น
- ปลาต่างๆ โดยเฉพาะแซลมอน ปลานิล ปลาสวาย อุดมด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ช่วยปรับระดับฮอร์โมนให้สมดุล
- ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยป้องกันเซลล์จากความเสียหาย
พึงระลึกเสมอว่า อาหารไม่ใช่วิธีการรักษาภาวะมีบุตรยาก แต่เป็นปัจจัยส่งเสริมด้วยวิธีธรรมชาติ ดังนั้นจึงควรปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญร่วมด้วยเสมอ