อาหารเสริม ช่วยความจำวัยผู้ใหญ่ และป้องกันสมองเสื่อม
อายุที่มากขึ้นสัมพันธ์กับความบกพร่องด้านสมองและการจดจำ หลายการศึกษาได้แสดงให้เห็นว่าโภชนาการที่ได้รับ ส่งผลกระทบต่อการทำงานของสมอง ดังนั้น การรับประทานอาหารและสารอาหารบางประเภท อาจส่งผลต่อสมองและระบบประสาทเช่นกัน ซึ่งหลายการศึกษาได้มีการรายงานถึงประสิทธิภาพที่ดีในการส่งเสริมการจดจำทั้งในผู้ใหญ่และคนชราแม้ว่าจะยังมีข้อโต้แย้งเกี่ยวกับประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่สนับสนุนการทำงานของสมอง อย่างไรก็ตามผู้บริโภคที่รับประทานยาเป็นประจำควรเลือกรับประทานผลิตภัณฑ์เสริมอาหารอย่างระมัดระวังเนื่องจากอาจมีปฏิกิริยาระหว่างกันได้
ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีส่วนช่วยเสริมความจำ ได้แก่
แต่รู้หรือไม่ว่า การเสพติดหวาน มีอันตรายมากกว่าที่คิด! หากเพื่อน ๆ ได้รับน้ำตาลในปริมาณที่มากเกินไป อาจส่งผลร้ายแรงในระยะยาวได้ ไม่ว่าจะเป็น โรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคซึมเศร้า และอาจเสี่ยงในการเกิดมะเร็งได้อีกด้วย รู้แบบนี้แล้วต้องระวัง! Tops Vita มี 5 สารอาหารแนะนำ ช่วยปรับสมดุลน้ำตาลในร่างกายมาฝากกัน แต่ละตัวมีประโยชน์ยังไงบ้าง…ตามมาดูกันเลยค่ะ
-
1) วิตามินบี (บี 6, 9 และ 12)
การขาดวิตามินบี โดยเฉพาะ บี6 (pyridoxine), บี9 (Folate), และ บี12 (cyanocobalamin) สามารถทำให้เกิดการเพิ่มขึ้นของระดับ homocysteine ในร่างกายซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองเสื่อม ดังนั้นการเพิ่มกระบวนการเผาผลาญ homocysteine โดยวิตามินบีอาจมีผลดีต่อการลดความเสี่ยงในการเกิดสมองเสื่อมได้ มีการศึกษาแบบสุ่มได้แสดงถึงประโยชน์ระยะยาวในการลดระดับ homocyeteine ในผู้ใหญ่สุขภาพดีที่ได้รับวิตามิน B (บี 12 500 ไมโครกรัม, วิตามินบี 6 10 มิลลิกรัม, โฟเลต 1000 ไมโครกรัม) แต่อย่างไรก็ตามหลายการศึกษาไม่ได้ยืนยันถึงประสิทธิภาพของวิตามินบีในการเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของสมองเมื่อเทียบกับยาหลอก โดยสรุปแม้ว่าการศึกษาของวิตามินบีกับการป้องกันสมองเสื่อมจะยังไม่ชัดเจน การได้รับวิตามินบีอย่างเพียงพอในทุกวันยังมีความจำเป็นในการบำรุงรักษาร่างกายซึ่งถือเป็นกระบวนการที่สำคัญต่อสุขภาพดีที่ยั่งยืน
-
2) วิตามินอี
เนื่องจากความเครียดจากปฏิกิริยาออกซิเดชันของอนุมูลอิสระในร่างกาย มีส่วนทำให้เกิดภาวะสมองเสื่อม สารต้านอนุมูลอิสระ ได้แก่ วิตามินอี ได้มีการนำมาใช้เพื่อการป้องกันและรักษาอาการดังกล่าว มีการศึกษา ที่มีผู้เข้าร่วม 5,395 คน ซึ่งติดตามการรักษาเป็นเวลา 10 ปี พบว่าผู้ที่ได้บริโภคอาหารที่มีวิตามินอีสูง มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมน้อยกว่า 25% และยังพบว่าการรับประทานวิตามินอี วิตามินซี และวิตามินและเกลือแร่รวมร่วมกัน มีโอกาสที่จะเกิดสมองเสื่อมน้อยลง 50% และยังมีอีกการศึกษาหนึ่งที่น่าสนใจคือ การเสริมวิตามินอีในปริมาณสูง (2000 IU ต่อวัน) ช่วยชะลอการลุกลามของโรคอัลไซเมอร์ระดับปานกลาง อย่างไรก็ตาม การเสริมวิตามินอีในปริมาณที่สูงกว่า 400 IU ต่อวันเป็นอันตรายต่อสุขภาพหัวใจและหลอดเลือด ดังนั้นควรพิจารณาการได้รับวิตามินอีในขนาดที่เหมาะสมและที่ไม่มีโรคหรือปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
-
3) Phospholipids: phosphatidylserine & phosphatidylcholine
เนื่องจากความชรามีความเกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงของระดับไขมันในสมอง การเสริมฟอสโฟลิปิดหรือฟอสฟาทิดิลโคลีนซึ่งเป็นองค์ประกอบพื้นฐานของเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทได้รับการแนะนำว่ามีประโยชน์ในการป้องกันโรคสมองเสื่อมได้ มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของ cytidine 5′-phosphocholine (สารตั้งต้นของฟอสฟาติดิลโคลีน) ที่ 600-1000 มก. ต่อวัน โดยให้ผลในที่ดีต่อความจำระยะสั้นในผู้ป่วยที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เกี่ยวข้องกับโรคหลอดเลือดสมอง มีการทดลองแบบสุ่มได้ศึกษากลุ่มผู้สูงอายุที่มีความจำบกพร่อง และได้มีการใช้ฟอสฟาติดิลซีรีนร่วมกับกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โดยติดตามผลเป็นเวลา 15 สัปดาห์ ผลพบว่าในกลุ่มที่ได้รับ cytidine 5′-phosphocholine มีประสิทธิภาพการรับรู้ที่ดีขึ้นในมากกว่ายาหลอก อย่างไรก็ตาม หลักฐานปัจจุบันที่ใช้ฟอสโฟลิปิดสำหรับป้องกันสมองเสื่อมมีจำกัด การศึกษาค่อนข้างเล็กและระยะสั้น จึงจำเป็นต้องรอข้อมูลจากทดลองขนาดใหญ่เพื่อยืนยันว่าผลิตภัณฑ์อาการเสริมกลุ่มฟอสโฟลิปิดมีประโยชน์ต่อสุขภาพสมอง -
4) Docosahexaenoic acid (DHA) ดีเอชเอ
เป็นกรดไขมันจำเป็นชนิดโอเมก้า 3 ที่เป็นส่วนประกอบพื้นฐานของสมอง ผิวหนัง และม่านตา ดีเอชเอสามารถสังเคราะห์ได้จากกรดอัลฟา-ไลโนเลนิก หรือได้รับโดยตรงจากการรับประทานปลาที่มีไขมันสูง น้ำมันปลา หรือน้ำมันจากสาหร่ายทะเล มีการค้นพบว่าระดับ DHA ที่ลดลงในเยื่อหุ้มเซลล์ประสาทมีส่วนทำให้ระบบประสาทส่วนกลางทำงานผิดปกติ โดยผู้ป่วยจะมีการแสดงออกในรูปของอาการวิตกกังวล หงุดหงิด เครียดง่ายกว่าปกติ มีความผิดปกติในการอ่าน ความจำบกพร่อง มีการศึกษาเกี่ยวกับประสิทธิภาพของดีเอชเอ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า DHA อาจมีประโยชน์ในผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีและมีปัญหาเรื่องความจำเพียงเล็กน้อย นอกจากนี้มีการศึกษาที่น่าสนใจในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์ที่ได้รับ ดีเอชเอ วันละ 2 กรัมโดยติดตามเป็นเวลา 18 เดือน พบว่ามีคะแนนระดับการประเมินโรคอัลไซเมอร์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ อย่างไรก็ตามมีคำเตือนการใช้ดีเอชเอ ในผู้ป่วยที่ได้รับยาวาร์ฟารินเนื่องจากอาจมีปฏิกิริยาระหว่างกันได้ และผู้สูงอายุที่รับประทานยาต้านการแข็งตัวของเลือดอาจต้องมีการติดตามระดับการทำงานของยาเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์เมื่อเริ่มผลิตภัณฑ์เสริมอาหารประเภทโอเมก้า 3 -
5) สารสกัดจากใบแปะก๊วย
สารสกัดจากใบแปะก๊วยอาจเป็นอาหารเสริมจากธรรมชาติที่มีการศึกษาอย่างแพร่หลายที่สุดในเรื่องของการส่งเสริมความจำ โดยมีกลไกการออกฤทธิ์ ได้แก่ ต้านอนุมูลอิสระ ต้านการอักเสบ และเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในสมอง แต่ในปัจจุบันยังไม่มีการศึกษาใดที่ยืนยันถึงการลดอัตราการเสื่อมของการเรียนรู้และการจดจำของสมองจากการใช้สารสกัดนี้ อย่างไรก็ตามได้มีการศึกษาผลของสารสกัดจากใบแป๊ะก๊วยต่อโรคอัลไซเมอร์ ในผู้ป่วยที่มีภาวะสมองเสื่อมที่เกี่ยวข้องกับโรคอัลไซเมอร์ ภาวะสมองเสื่อมจากโรคหลอดเลือดสมอง และทั้งสองชนิดรวมกัน พบว่าสารสกัดใบแปะก๊วยมีผลดีต่อการการเพิ่มประสิทธิภาพการจดจำในผู้ป่วยโรคอัลไซเมอร์มากกว่าภาวะสมองเสื่อมประเภทอื่น อย่างไรก็ตามควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนรับประทานอาหารเสริมชนิดนี้ เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาหลายชนิด เช่น ยาต้านเกล็ดเลือด ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาลดความดันโลหิตสูง
- โดยสรุป การศึกษาวิจัยดูเหมือนจะมีแนวโน้มสนับสนุนการใช้ผลิตภัณฑ์เสริมอาหารด้านสมองในผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ แม้จะมีข้อจำกัดของการศึกษาหลายประการ อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงโอกาสในการเกิดปฏิกิริยาระหว่างผลิตภัณฑ์เสริมอาหารกับยาที่รับประทานอยู่และความเสี่ยงต่อโรคบางชนิด นอกจากอาหารเสริมบำรุงสมองแล้ว ผู้บริโภคยังสามารถเพิ่มพฤติกรรมอื่นที่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดความจำเสื่อมได้ เช่น ลดคอเลสเตอรอลและความดันโลหิต หลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ รักษานิสัยการกินเพื่อสุขภาพ รักษาปฏิสัมพันธ์กับผู้คนรอบข้าง และฝึกให้สมองตื่นตัวอยู่เสมอ