หลายงานวิจัยพบว่า ผู้ที่มีอายุมากกว่า 40ปีขึ้นไป มักพบว่า ร่างกายมีระดับวิตามินดี 3 ไม่เพียงพอในการดูแลสุขภาพในแบบองค์รวม โดยเฉพาะการเสริมสร้างภูมิต้านทานร่างกายในช่วงโควิดกำลังระบาด วิตามินดี มี 2 ชนิด ได้แก่ วิตามินดี 2 (Ergocalciferol) ซึ่งได้จาก เช่น เห็ด และวิตามินดี 3 (Cholecalciferol) ซึ่งได้มาจาก 2 ทาง คือ เนื้อสัตว์ ตับ ไข่แดง น้ำมันตับปลา ไขมันจากปลา นมและผลิตภัณฑ์จากนม และ การสัมผัสกับแสงแดดอ่อนๆ ในยามเช้าประมาณ 15 นาที หลายงานวิจัยกล่าวว่า นอกจากวิตามินดี 3 จะมีหน้าที่หลักช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสในลำไส้เล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูกและฟัน ป้องกันโรคกระดูกบาง (osteopenia) กระดูกพรุน (osteoporosis) โรคข้อเข่าเสื่อม (osteoarthritis) แต่ยังช่วยลดความเสี่ยง โรคความดันโลหิตสูง (hypertension) เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย (immune system) ลดความเสี่ยงโรคมะเร็ง และโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้ากับวิตามินดี 3
เนื่องจากร่างกายของเรามีตัวรับวิตามินดี (Vitamin D receptor) ในหลายอวัยวะ รวมทั้งในสมองส่วน prefrontal cortex, thalamus, hypothalamus, hippocampus, cingulated gyrus และ substantia nigra ซึ่งเป็นสมองส่วนที่เกี่ยวข้องกับความจำ การควบคุมการเคลื่อนไหว การควบคุมอารมณ์ และพฤติกรรม อีกทั้งยังมีส่วนสำคัญในการกระตุ้นเอนไซม์ที่ใช้ในการสังเคราะห์สารสื่อประสาท (neurotransmitter) ภายในสมองบริเวณดังกล่าว เช่น ซีโรโทนิน (serotonin) , โดพามีน (dopamine) และ นอร์อีพรินพีน (norepinephrine) ซึ่งทั้ง 3 สารสื่อประสาทเหล่านี้มีส่วนช่วยลดความเครียดและลดภาวะซึมเศร้า และโรคเกี่ยวกับความจำอื่นๆ
ใครบ้างที่ควรทานวิตามินดี 3 เสริมเพื่อรักษาสมดุลสุขภาพ
-
1) ผู้ที่อยู่อาศัยในเมืองใหญ่
โดยเฉพาะในบริเวณที่มลพิษหมอกควันหนาแน่น ทำให้แสงแดดจะส่องมาไม่มากพอ
-
2) ผู้ที่ทำงานกลางคืน
ผู้ที่ทำงานกลางคืนและไม่ค่อยตากแดด
-
3) คนผิวเข้ม
เพราะเม็ดสีเมลานินในผิวเป็นตัวปกป้องแสงแดดมาทำร้ายผิว จึงเสี่ยง
-
4) ผู้ที่ทานยา
ผู้ที่ทานยากันชัก ยาวัณโรค ยาต้านไวรัสเอชไอวี เพราะลดระดับวิตามินดีในร่างกาย
-
5) ผู้ที่อายุ 45 ปี
ผู้ที่อายุ 45 ปีขึ้นไปหรือเข้าสู่ภาวะวัยทอง
-
6) ผู้ที่มีความเสี่ยง
ผู้ที่มีความเสี่ยงโรคกระดูกพรุน โรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า
-
7) ผู้ที่ต้องการเสริมภูมิ
ผู้ที่ต้องการเสริมภูมิต้านทานในร่างกาย สำหรับผู้ใหญ่คือ 200 – 2,000 IU ต่อวันแล้วแต่แพทย์พิจารณาตามวัตถุประสงค์
ผลเสียของการรับประทานวิตามินดีเกินขนาด อาจมีผลต่อการเกิดอาการไม่พึงประสงค์ทางทางเดินอาหาร ได้แก่ กระหายน้ำ อ่อนแรง เบื่ออาหาร ท้องเสีย ท้องผูก คลื่นไส้/อาเจียน ปวดกระดูก ง่วงซึม ปวดศีรษะ ปัสสาวะบ่อย โดยเฉพาะกลางคืน และอาจเกิดนิ่วในไต โดยอาจพบอาการดัง